วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2475 เป็นเรื่องสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังจะเห็นได้จากประกาศหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ที่เป็นแนวทางในการปกครอง ซึ่งประกอบเอกสาร ความสงบสุขภายในการบำรุงสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ การมีสิทธิเสมอภาค การมีเสรีภาพ และการศึกษา ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยไปจากเดิม
โดยหลักการของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศชาติ มีผลให้บุคคลในประเทศมีความเสมอภาคกันทั้งทางกฎหมายและมีเสรีภาพในการพูด การเขียน ที่ไม่ล้วงล้ำอธิปไตยผู้อื่น มีสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบชนชั้นหมดไป
ในสถานภาพของพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำรงฐานะเป็นองค์พระประมุขของรัฐ แต่ไม่สามารถที่จะได้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดดังเดิม พระองค์ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยใช้อำนาจผ่านสถาบันหลัก 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ถูกยกเลิกอภิสิทธิ์ที่เคยมีอย่างสิ้นเชิง บรรดาขุนนาง ข้าราชการถูกยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศ แม้จะไดรับการยกย่องทางสังคม แต่ก็ปรับตัวเองให้รับการศึกษาแบบตะวันตก เพื่อเป็นขุนนางในระบบข้าราชการ
การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการที่จะให้ราษฎรดำรงชีวิตอยู่ในสังคมยุคประชาธิปไตยได้ ดังคำประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1 กำหนดให้การศึกษามีความสำคัญเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง ดังนั้น ในสมัยนี้ จึงประกาศแผนการศึกษาชาติ ในปี พ.ศ. 2475 ให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ พ.ศ. 2477 ได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย และต่อมาได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ใน พ.ศ. 2488 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ถือเป็นการศึกษาภาคบังคับ
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ชาวจีนได้เข้ามาผูกขาดควบคุมเศรษฐกิจของชาติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศใช้นโยบายทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกิดระบบผูกขาดการค้าขึ้น โดยตั้งรัฐวิสาหกิจ โดยมีนักการเมืองและพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ กลายเป็นคนกลุ่มใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ที่มีฐานะร่ำรวยและมีอำนาจ ในขณะที่ชาวนา ชาวไร่ยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน แร้นแค้น เพราะถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบเมื่อขายผลผลิต คนเหล่านี้จึงเริ่มอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ๆ และกรุงเทพฯ ยังผลให้คนในชนบทลดน้อยลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น